การ present การแข่งขันประเภท "สร้างสรรค์สวยงามบินได้"


    การแข่งขันเครื่องบิน"หนูน้อยจ้าวเวหา" ประเภทสร้างสรรค์สวยงามบินได้  ในปีนี้ทางกรรมการกำหนดโจทย์ให้สร้างและประดิษฐ์เครื่องบินให้เป็นเป็น รูปช้าง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องนำไปคิดและออกแบบมาว่าทำอย่างไรช้างถึงจะบินได้ โดยอาศัยหลักอากาศพลศาตร์ร่วมด้วยในการออกแบบ  ซึ่งจะมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างกันสดๆที่สนาม 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ให้ทุกทีมนำเสนอผลงานที่ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยจะมีคะแนนสร้างสรรค์สวยงามรวม  70 คะแนน ซึ่งใน 70 คะแนนก็จะมีคะแนนการนำเสนอ หรือ present อยู่ 15 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่น้องๆมักจะพลาดกัน  บางทีมออกแบบเครื่องบินมาอย่างสวยงามแต่นำเสนอไม่เป็น ไม่กล้าที่จะพูดทำให้เสียคะแนนตรงนี้ไปและพลาดโอกาสได้ถ้วยรางวัล  ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจึงควรเตรียมความพร้อมในการนำเสนอข้อมูลก่อนการแข่งขัน ว่าจะนำเสนออย่างไรให้กรรมการประทับใจและสนใจ โดยจะมีเวลานำเสนอทีมละไม่เกิน 5 นาที เช่น สามารถอธิบายได้ถึงหลักการออกแบบโดยอ้างอิงหลักอากาศพลศาสตร์เบื้องต้น ลักษณะรูปทรงที่สร้างขึ้นมีผลต่อการบินอย่างไร ฯลฯ


การสร้างวิทยุบังคับ 2 ช่องสัญญาณ

       วันนี้สมาคมได้นำหนังสือเกี่ยวกับการสร้างวิทยุบังคับ 2 ช่องสัญญาณมาเผยแพร่ให้เด็กๆ"หนูน้อยจ้าวเวหา"และผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปฎิบัติการสร้างชุดบังคับ 2 ช่องสัญญาณด้วยตนเอง และยังให้ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเบื้องต้นสาเหตุที่แผงวงจรขัดข้อง ควรแก้ไขอย่างไร  ซึ่งต้องขอขอบคุณ อาจารย์พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล และอาจารย์ประดิษฐ์ บุญเส็ง จากโรงเรียนแสวงหาวิทยาคม จังหวัดอ่างทอง ที่ร่วมกันศึกษาหาข้อมูลและเรียบเรียงเป็นตำราให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


แจ้งข่าว"หนูน้อยจ้าวเวหา"ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนลงสมัครได้ 2 ประเภท


                      ข่าวดีสำหรับผู้เข้าแข่งขัน "หนูน้อยจ้าวเวหา"ระดับมัธยมต้น ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ จังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนสามารถลงสมัครได้ 2 ประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่  (ยกเว้น การแข่งขันประเภทสร้างสรรค์สวยงามบินได้ผู้เข้าแข่งขันสามารถลงสมัครได้ประเภทเดียว เนื่องจากต้องใช้เวลาลงมือสร้างและประกอบที่สนามแข่งขัน) ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2559


กติกาการแข่งขันประเภทสร้างสรรค์สวยงามบินได้


            สำหรับการแข่งขันเครื่องบิน"หนูน้อยจ้าวเวหา" ประเภทสร้างสรรค์สวยงามบินได้
ในปีนี้ทางคณะกรรมการกำหนดโจทย์ให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างและประดิษฐ์เครื่องบินให้เป็นเป็นรูปช้าง
ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยผู้เข้าแข่งขันต้องจัดเตรียมอุปกรณ์มาสร้างและประดิษฐ์
กันสดๆในสนาม ซึ่งจะมีเวลาให้สร้าง 5 ชั่วโมงต้องสร้างให้เสร็จ ผู้เข้าทำการแข่งขัน 1 ทีมมี 3 คน
ผู้ที่สร้างและประดิษฐ์เครื่องบินจะต้องเป็นนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น ในกรณีทีมีครู/อาจารย์
เป็นผู้ควบคุมทีมไม่อนุญาตให้ครู/อาจารย์ร่วมทำการประดิษฐ์เครื่องบิน แต่สามารถควบคุมการบิน
ของนักเรียนได้
กติกาประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้
-  ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน อาจารย์/ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน
-  ให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างและออกแบบเครื่องบินให้เป็นรูปช้าง ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำ
   ชาติไทย พร้อมกับนำเสนอและบินเก็บคะแนนที่สนามแข่งขัน (ต้องเตรียมอุปกรณ์มาสร้างเอง
   ที่สนามแข่งขัน)
-  วิทยุบังคับที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นรุ่น 2 ช่องสัญญาณรุ่นใดก็ได้ไม่กำหนด
-  อุปกรณ์กำหนดให้ ใช้มอเตอร์ 180   ไม่กำหนดจำนวนมอเตอร์   ไม่กำหนดแบตเตอรี่
-  ให้ผู้เข้าแข่งขันออกแบบเครื่องบินให้เป็นรูปช้าง  และทำโครงงานเป็นรูปเล่ม 3 ฉบับ ส่งให้
   กรรมการ (สามารถเตรียมความพร้อมมาจากบ้านได้)
-  นักเรียนต้องนำเสนอผลงานต่อหน้ากรรมการจัดการแข่งขัน เพื่อให้คะแนน สร้างสรรค์สวยงาม
-  คะแนน แบ่งเป็นคะแนนสร้างสรรค์สวยงาม 70 คะแนน   คะแนนบินได้ 30 คะแนน
             คะแนนสวยงาม 70 คะแนน ประกอบด้วย
                        คะแนนการออกแบบตามหลักอากาศพลศาตร์       20    คะแนน
                        คะแนนความประณีตสวยงาม          20    คะแนน
                        คะแนนเอกสารรายงาน                 10    คะแนน
                        คะแนนการนำเสนอ                     15   คะแนน
                        คะแนน ถาม-ตอบ                         5    คะแนน
-   ทำการแข่งขันการบิน กำหนดเวลาการแข่งขัน 2  นาที
    คะแนนบินได้ 30 คะแนน   ดังนี้  (บินได้ไม่ถึง  20  วินาทีถือว่าบินไม่ได้ จะไม่ได้คะแนนบิน)
                      บินได้   40-59  วินาที                 10    คะแนน
                      บินได้   60-79  วินาที                 15    คะแนน
                      บินได้   80-99  วินาที                 20    คะแนน
                      บินได้ 100-119  วินาที               25    คะแนน
                      บินได้ 120  วินาที                      30    คะแนน
-  ห้ามนำเครื่องบินต้นแบบที่สร้างไว้แล้วเข้ามาในสนามการแข่งขัน
-  การบิน ผู้ควบคุมเครื่องบินต้องอยู่ในจุดที่กรรมการกำหนดและบินเหนือบริเวณพื้นที่ ที่
   กรรมการกำหนด
-  การตัดสิน นำคะแนนสร้างสรรค์สวยงามและคะแนนบินได้มารวมกัน ทีมใดได้คะแนนสูงสุด
   เป็นผู้ชนะ
-  การบินรอบชิงชนะเลิศคิดตามเวลาที่บินได้เป็นคะแนนอีก 30 คะแนนรวมกับคะแนนเดิมใน
   รอบคัดเลือก ทีมใดได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นผู้ชนะเลิศ







เพิ่มเติมกติกาการแข่งขันเครื่องบิน 2 ช่องสัญญาณ



พื่อความเข้มข้นของการแข่งขัน "หนูน้อยจ้าวเวหา"ในปีนี้ได้มีการปรับกติกาการแข่งขันเล็กน้อยเพิ่อเพิ่มทักษะและความมันส์ในเกมส์การแข่งขัน "หนุน้อยจ้าวเวหา"ปี 8 นักกีฬาควรเตรียมความพร้อมในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานฯ ในวันที่ 19-20 มีนาคม 2559 ที่โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
กติกาการแข่งขันเครื่องบินจำลอง  “หนูน้อยจ้าวเวหารุ่น 2 ช่องสัญญาณ ปี 8
ประเภทบินผาดโผน (ลอดบ่วง)
ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน อาจารย์/ผู้ควบคุม 1 ท่าน
เครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขัน สามารถออกแบบและกำหนดขนาดได้เองโดยใช้วัสดุอะไรก็ได้
วิทยุบังคับที่ใช้ในการแข่งขันเป็นรุ่น 2 ช่องสัญญาณรุ่นใดก็ได้ไม่กำหนด
อุปกรณ์กำหนดให้ ใช้มอเตอร์ 180  จำนวน 2 ตัว ไม่กำหนดแบตเตอรี่
-  ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมเครื่องบินมาเอง อนุญาตให้เตรียมมาได้มากกว่า 1 ลำ 
   โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากกรรมการก่อนทำการแข่งขัน 
-  เวลาในการแข่งขัน 2 นาที ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลาสามารถนำเครื่องบิน 
   บินต่อได้จนหมดเวลา
-  ต้องปล่อยเครื่องบินและควบคุมการบิน ตรงพื้นที่ ที่กรรมการกำหนด
เครื่องบิน บินลอดบ่วงได้ จึงจะได้คะแนน
-  
บ่วงที่ใช้ในการแข่งขันมีลักษณะเป็นซุ้มลอด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตรจำนวน 2 ห่วง 
   วางในแนวเดียวกันตามยาว(หน้ากระดาน) ระยะห่างตามกรรมการกำหนดโดยมีคะแนน
    ห่วงละ 50 คะแนน
 ผู้แข่งขันสามารถลอดห่วงใด ก่อนหลังก็ได้ และสามารถลอดเข้าทางทิศทางใดของห่วงก็ได้
ในระหว่างแข่งขันหากเครื่องบินตกเสียหาย ไม่สามารถบินแข่งขันต่อไปได้ ให้ยุติการแข่งขัน
- ให้คะแนนตามบ่วงที่บินลอดได้ ทีมใดทำคะแนนรวมได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ 

 ประเภททิ้งสัมภาระตรงจุด
-  ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน อาจารย์/ผู้ควบคุม 1 ท่าน
-  เครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขัน สามารถออกแบบและกำหนดขนาดได้เองโดยใช้วัสดุอะไรก็ได้
วิทยุบังคับที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นรุ่น 2 ช่องสัญญาณรุ่นใดก็ได้ไม่กำหนด
อุปกรณ์ กำหนดให้ใช้มอเตอร์180 จำนวน ตัว    ไม่กำหนดแบตเตอรี่
-  ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมเครื่องบินมาเอง อนุญาตให้เตรียมมาได้มากกว่า 1 ลำ โดยต้องผ่าน
   การตรวจสอบจากกรรมการก่อนทำการแข่งขัน
 
สัมภาระที่ใช้ในการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมมาเอง กำหนดให้มีรูปลักษณะเป็นถุงหูรูด       
   (ลักษณะคล้ายถุงยังชีพ) ขนาดไม่ต่ำกว่า 5 X 5 เซนติเมตร (ฐานกว้างไม่ต่ำกว่า 5 ซม.และ
   สูงไม่ต่ำกว่า 5 ซม.) น้ำหนักไม่จำกัด
-  
ผู้ควบคุมเครื่องบิน ต้องยืนบินอยู่ในจุดที่กรรมการกำหนด ในกรณีที่ผู้ช่วยนักบินเป็นผู้กดปลด
   สัมภาระ ตำแหน่งที่ยืนจะต้องอยู่ข้างนักบินในขณะกดปลดสัมภาระ (ไม่ให้ลงไปยืนในสนาม)
 
เป้าคะแนนจะมีการยกระดับให้อยู่สูงขึ้นจากพื้นไม่เกิน 1 เมตร (ตามรูป)
ให้ผู้เข้าแข่งขันบินทิ้งสัมภาระ เหนือเป้าหมายที่กำหนด  โดยจะมีคะแนนในเป้าที่แตกต่างกัน
   ตามลำดับให้ทิ้งสัมภาระได้ 2 ครั้งแล้วนำคะแนนมารวมกัน
-  การตัดสิน ทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ  
-  กรณีทิ้งสัมภาระไม่ลงเป้าคะแนน ให้วัดระยะจากจุดกึ่งกลางเป้าคะแนนไปยังจุดที่สัมภาระตก
   อยู่ โดยทีมที่วัดระยะได้ใกล้ที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
เวลาในการแข่งขัน 2 นาที ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลาสามารถส่งเครื่องบิน  บินต่อได้
   จนหมดเวลา
ในกรณีที่ทิ้งสัมภาระอยู่ในวงคะแนน หากเครื่องบินตกอยู่ในกรอบเป้าคะแนน ถือว่าไม่ได้
   คะแนน   
 
     ประเภทความคิดสร้างสรรค์สวยงามบินได้
ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน อาจารย์/ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน
 
ให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างและออกแบบเครื่องบินให้เป็นรูปช้าง ซึ่งเป็นสัตว์สัญญาลักษณ์ประจำ
   ชาติไทย พร้อมกับนำเสนอและบินเก็บคะแนนที่สนามแข่งขัน (ต้องเตรียมอุปกรณ์มาสร้างเอง
   ที่สนามแข่งขัน)
วิทยุบังคับที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นรุ่น 2 ช่องสัญญาณรุ่นใดก็ได้ไม่กำหนด
อุปกรณ์กำหนดให้ ใช้มอเตอร์ 180   ไม่กำหนดจำนวนมอเตอร์   ไม่กำหนดแบตเตอรี่
-  ให้ผู้เข้าแข่งขันออกแบบเครื่องบินให้เป็นรูปช้าง  และทำโครงงานเป็นรูปเล่ม 3 ฉบับ ส่งให้
   กรรมการ (สามารถเตรียมความพร้อมมาจากบ้านได้)
-   นักเรียนต้องนำเสนอผลงานต่อหน้ากรรมการจัดการแข่งขัน เพื่อให้คะแนน สร้างสรรค์ 
    สวยงาม
-   คะแนน แบ่งเป็นคะแนนสร้างสรรค์สวยงาม 70 คะแนน   คะแนนบินได้ 30 คะแนน
             คะแนนสวยงาม 70 คะแนน ประกอบด้วย 
                        คะแนนการออกแบบตามหลักอากาศพลศาตร์       20    คะแนน
                        คะแนนความประณีตสวยงาม          20    คะแนน
                        คะแนนเอกสารรายงาน                 10    คะแนน
                        คะแนนการนำเสนอ                     15   คะแนน
                        คะแนน ถาม-ตอบ                         5    คะแนน
-   ทำการแข่งขันการบิน กำหนดเวลาการแข่งขัน นาที
    คะแนนบินได้ 30 คะแนน   ดังนี้  (บินได้ไม่ถึง  20  วินาทีถือว่าบินไม่ได้ จะไม่ได้คะแนนบิน)
                      บินได้   40-59  วินาที                 10    คะแนน
                      บินได้   60-79  วินาที                 15    คะแนน
                      บินได้   80-99  วินาที                 20    คะแนน
                      บินได้ 100-119  วินาที               25    คะแนน
                      บินได้ 120  วินาที                     30    คะแนน
ห้ามนำเครื่องบินต้นแบบที่สร้างไว้แล้วเข้ามาในสนามการแข่งขัน
-  การบิน ผู้ควบคุมเครื่องบินต้องอยู่ในจุดที่กรรมการกำหนดและบินเหนือบริเวณพื้นที่ ที่
   กรรมการกำหนด
-  การตัดสิน นำคะแนนสร้างสรรค์สวยงามและคะแนนบินได้มารวมกัน ทีมใดได้คะแนนสูงสุด
   เป็นผู้ชนะ
การบินรอบชิงชนะเลิศคิดตามเวลาที่บินได้เป็นคะแนนอีก 30 คะแนนรวมกับคะแนนเดิมใน
   รอบคัดเลือก ทีมใดได้คะแนนรวมสูงสุดเป็นผู้ชนะเลิศ
  ประเภทบินนาน
-   ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน อาจารย์/ผู้ควบคุม 1 ท่าน
-   เครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขัน สามารถออกแบบและกำหนดขนาดได้เองโดยใช้วัสดุอะไรก็ได้
-   เครื่องวิทยุบังคับที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นรุ่น 2 ช่องสัญญาณรุ่นใดก็ได้ไม่กำหนด
-   อุปกรณ์กำหนดให้ ใช้มอเตอร์ 180 จำนวน 2 ตัว  ไม่กำหนดแบตเตอรี่
-   ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมเครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขันมาเอง โดยต้องผ่านการตรวจสอบจาก
    กรรมการก่อนทำการแข่งขัน
-   การแข่งขัน แข่งขันพร้อมกันครั้งละ ทีม
-   ต้องบินเหนือบริเวณพื้นที่สนามแข่งขัน ถ้าทำการบินได้นาน 2 นาทีจะได้ 5 คะแนน
-   กรณีที่บินไม่ครบ 2 นาที ให้นับคะแนนเป็นเวลาที่บินได้จริง
-   หลังจากครบ 2 นาที กรรมการจะเป่านกหวีดให้ทุกลำลงจอดในเป้าคะแนนของตนเอง 
    ภายใน 30 วินาที 
-   
เป้าคะแนนจะมีการยกระดับให้อยู่สูงขึ้นจากพื้นไม่เกิน  1 เมตร (ตามรูป)  
-   หากเกิน 30 วินาที ถือว่าได้เพียงคะแนน 5 คะแนน
-   เครื่องบินที่ลงจอดตรงเป้าคะแนน จะมีคะแนนบวกให้อีก 5, 4 ,2 ตามลำดับ ผู้ที่ได้คะแนน
    รวมมากที่สุดและใช้เวลาในการลงจอดน้อยที่สุด จะเป็นผู้ชนะ
-   เครื่องบินตก หรือตกบนสิ่งก่อสร้างหรือค้างต้นไม้หรือสิ่งอื่นใด ให้ถือว่าสิ้นสุดการแข่งขัน
    ไม่มีคะแนน
-   เครื่องบินจะต้องลงในสนามเท่านั้นจึงจะนับคะแนนให้ หากตกนอกสนามถือว่าไม่มีคะแนน
 
หมายเหตุ  กติกาการแข่งขันหากมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการจะแจ้งให้ทราบในวันแข่งขัน
 ขอให้ทุกท่านโชคดี
สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2559


การแข่งขันเครื่องบิน 2 ช่องสัญญาณชิงถ้วยพระราชทานฯ


   เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นายพิศิษฐ์  มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมฯบินไปสำรวจพื้นที่จัดการแข่งขันเครื่องบินจำลอง "หนูน้อยจ้าวเวหา"ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยได้รับการต้อนรับจาก ท่านประจบ  บุญแสง ผอ.สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ. สกลนคร พาชมสถานที่จัดการแข่งขัน และประชุมเตรียมความพร้อมต้อนรับ เด็ก"หนูน้อยจ้าวเวหา"ที่จะเดินทางมาร่วมการแข่งขันที่ โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ จังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19-20 มีนาคม 2559 งานนี้ทางสกลนครเตรียมการต้อนรับอย่างเต็มที่ครับ  
สถานที่จัดการแข่งขัน








“หนูน้อยจ้าวเวหา”ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สกลนคร


าวก”หนูน้อยจ้าวเวหา”เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การแข่งขัน “หนูน้อยจ้าวเวหา” ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประจำปี 2559  กับการแข่งขันเครื่องบินขั้นพื้นฐาน 2 ช่องสัญญาณ  ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทบินผาดโผน (ลอดบ่วง)  สร้างสรรค์สวยงามบินได้ ทิ้งสัมภาระ และบินนาน  
ในวันที่ 19-20 มีนาคม 2559 ที่โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
** กติกามีการปรับเล็กน้อยเพื่อความสนุกสนานและเพื่อเพิ่มทักษะในการบิน**

ผู้ที่สนใจสามารถส่งใบสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2559


รูปโรงเรียนที่ใช้จัดการแข่งขัน
 รูปหอประชุมที่ใช้แข่งขัน


 ขนาดของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดการแข่งขัน
 
 ความสูงของพื้นที่ที่ใช้จัดการแข่งขัน
 

การอบรมและให้ความรู้ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2559

การอบรมและให้ความรู้ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2559 เรื่อง "การพัฒนาเครื่องบินปีกหมุนสู่การใช้งาน" วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2559











ไฟล์เอกสารประกอบการอบรม >> Download

ผลการแข่งขัน"หนูน้อยจ้าวเวหา"ชิงถ้วยพระราชทานฯ สนามที่ 1


ผลการแข่งขัน"หนูน้อยจ้าวเวหา"ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2559 ประเภทลำเลียง    
และ ประเภทยุทธวิธี     เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ที่สนามกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี (ทุ่งบูรพา)  มีดังนี้
   
ผลการแข่งขันชิงชนะเลิศถ้วยพระราชทาน
ประเภทลำเลียง     
รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน   ได้แก่ทีม  ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน ทีม 1   โรงเรียน  พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี
รายชื่อผู้เช้าแข่งขัน  1.  เด็กชาย วรุต  จวงจันทร์                  
                           2. เด็กชาย พีระพัฒน์  อินยู                     
                           3. นาย เพชรยันต์  พนมวนาภิรัต        ผู้ควบคุมทีม



รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ทีม ธาตุทองอำนวยวิทย์ ทีม 2  โรงเรียน  ธาตุทองอำนวยวิทย์  จ. สกลนคร
รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน  1. เด็กชาย บรรณสรณ์  สิงห์ไชย                  
                           2. เด็กชาย กษมา  แก้วลอดหล้า                  
                           3. นาย ชัยเรือง  ไชยคลัง       ผู้ควบคุมทีม


รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2  ได้แก่ทีม  ประเทียบวิทยาทาน ทีม 1   โรงเรียน  ประเทียบวิทยาทาน  จ.สระบุรี
รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน  1. เด็กชาย นพพล  เอี่ยมสอาด
                           2. เด็กชาย ธนทร  กลิ่นชื่น
                           3. นาย สมนาม  ณ เชียงใหม่   ผู้ควบคุมทีม


รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3  ได้แก่ทีม  MULTI-RC ทีม 3  โรงเรียน  ย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์  จ. ตรัง
รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน  1. นาย กลัญญู   สมาธิ
                           2. นางสาว บุญสิตา  กังแฮ                     
                           3. นาย ประสิทธิ์  สลัดทุกข์     ผู้ควบคุมทีม


 ประเภทยุทธวิธี
รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน  ได้แก่ทีม  ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน ทีม 1   โรงเรียน  พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี
รายชื่อผู้เช้าแข่งขัน  1.  เด็กชาย วรุต  จวงจันทร์                  
                           2. เด็กชาย พีระพัฒน์  อินยู                     
                           3. นาย เพชรยันต์  พนมวนาภิรัต        ผู้ควบคุมทีม


รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  ได้แก่ทีม  ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 2  โรงเรียน  พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี
รายชื่อผู้เช้าแข่งขัน  1. เด็กชาย ธนพนธ์  ไชยชมภู                  
                           2. เด็กชาย กิตติศักดิ์  มงคล                     
                           3. นาย เพชรยันต์  พนมวนาภิรัต        ผู้ควบคุมทีม


รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2  ได้แก่ทีม  ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 3  โรงเรียน  พิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี 
รายชื่อผู้เช้าแข่งขัน  1.  เด็กชาย กันยาฤทธิ์  สำเภา                      
                           2. เด็กชาย ธนาดล  วงศ์พันธ์                  
                           3. นาย เพชรยันต์  พนมวนาภิรัต        ผู้ควบคุมทีม


รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่3   ได้แก่ทีม   สำนักงานเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร  จ. อุบลราชธานี
รายชื่อผู้เช้าแข่งขัน   1. นาย ศุภโชค  ดวงสิน                           
                            2. นาย อุดม  คำก้อน                           
                            3. นาย เสรี  บรรพตะธิ   ผู้ควบคุมทีม          


ภาพบรรยากาศการแข่งขัน


ขบวนแห่ถ้วยพระราชทาน