"หนูน้อยจ้าวเวหา"ชิงถ้วยพระราชทานฯที่อุบล





       แจ้งเปลี่ยนสถานที่แข่งขัน สำหรับการแข่งขันเครื่องบิน ประเภท 4 ช่องสัญญาณ
"หนูน้อยจ้าวเวหา" สนามชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2559 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อความสะดวก จะย้ายจาก โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี มาแข่ง ในโดม ที่สนามกีฬากลางจังหวัดอุบลราชธานี (ทุ่งบูรพา) จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน สำหรับการแข่งขันในครั้งนี่ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 7,000 , 5,000 , และ 3000 ตามลำดับ

       ในเรื่องของกฎกติกาการแข่งขัน มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อความสนุกสนานและเพิ่มทักษะด้านการบินให้กับผู้เข้าแข่งขัน คือ ประเภทยุทธวิธี จะมีการปรับตำแหน่งการวางลูกโป่งลูกกลางให้ถอยร่นลงมา การวางตำแหน่งลูกโป่งจะเป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยม ส่วน ประเภทลำเลียงนอกจากปรับเปลี่ยนในเรื่องของรูปแบบของสัมภาะให้ใช้เป็นลักษณะถุงหูรูด คล้ายถุงยังชีพแล้ว การบินยังต้องบินผ่านช่องที่กรรมการกำหนดก่อนปลดทิ้งสัมภาระอีกด้วย

            รูปแบบสนามแข่งขันประเภทยุทธวิธี

            รูปแบบสนามแข่งขันประเภทลำเลียง

   กติกาการแข่งขันประเภทยุทธวิธี

- ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน และอาจารย์/ผู้ควบคุมทีม 1 คน
- เครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขัน สามารถออกแบบและกำหนดขนาดได้เองโดยใช้วัสดุอะไรก็ได้แต่ต้องติด  ล้อที่เครื่องบินเพื่อทำการ take off ขึ้นจากพื้น
- ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมเครื่องบินมาเอง อนุญาตให้เตรียมมาได้มากกว่า 1 ลำ โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากกรรมการก่อนทำการแข่งขัน
- อุปกรณ์กำหนดให้ใช้มอเตอร์ขนาด 180 จำนวน 2 ตัว หรือ มอเตอร์ 1 ตัว ขนาดไม่เกิน 1400 KV สปีดขนาดไม่เกิน 30 Amp
- ใช้วิทยุบังคับ 4 – 8 CH แบบทั่วไป
- เวลาในการแข่งขัน 2 นาที ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลาสามารถนำเครื่องบินบินต่อได้จนหมดเวลา
- ต้องปล่อยและยืนบินตามตำแหน่งที่กรรมการกำหนด และบินตามแบบที่กรรมการกำหนด
- เริ่มจากจุด start ผู้เข้าแข่งขัน take off เครื่องบินจากพื้น แล้วบินวนอ้อมทั้งสามหลักให้ครบ 1 รอบ (บินวนครั้งแรกรอบเดียว)
- หลังจากนั้นบินซิกแซกอ้อมหลักทั้งสามหลักให้ครบถ้วนแล้วบินอ้อมหลักบนซ้ายสุดแล้วโจมตีลูกโป่งเพื่อทำคะแนน
- ในแต่ละรอบ โดยโจมตีลูกโป่งแตก 1 ลูกจะได้ 5 คะแนน เมื่อครบ 3 ลูกก็จะได้คะแนน 15 คะแนน
- การโจมตีลูกโป่งแต่ละครั้งต้องบินเข้าโจมตีเท่านั้น ห้าม ฮอบชนลูกโป่ง (ห้ามเครื่องบินทำมุมตั้งฉาก 90 องศาในแนวดิ่งเข้าชนลูกโป่ง)
- เครื่องบินตกหรือชนก้านลูกโป่งตก สามารถขึ้นบินได้ใหม่จนกว่าจะหมดเวลาการแข่งขัน
- ในกรณีที่เครื่องบินตกเสียหายระหว่างแข่งขันและไม่สามารถบินต่อไปได้ให้ยุติการแข่งขัน
- การตัดสินกรณีคะแนนเท่ากัน ทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดในการเข้าโจมตีลูกโป่งลูกแรกแตกถือเป็นผู้ชนะ
- เมื่อบินครบ 2 นาทีแล้วให้ผู้แข่งขันนำเครื่องบินมาลงจอดที่จุด start ที่เดิม

   กติกาการแข่งขันประเภทลำเลียง
- ทีมผู้แข่งขันประกอบด้วย นักเรียน 2 คน และอาจารย์ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน
- เครื่องบินที่ใช้ในการแข่งขัน สามารถออกแบบและกำหนดขนาดได้เองโดยใช้วัสดุอะไรก็ได้ แต่ต้องติดล้อที่เครื่องบินเพื่อทำการ take off ขึ้นจากพื้น
- อุปกรณ์กำหนดให้ใช้มอเตอร์ขนาด 180 จำนวน 2 ตัว หรือ มอเตอร์ 1 ตัว ขนาดไม่เกิน 1400 KVสปีดขนาดไม่เกิน 30 Amp
- ใช้วิทยุบังคับ 4 -8 CH แบบทั่วไป
สัมภาระที่ใช้ในการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมมาเอง กำหนดให้มีรูปลักษณะเป็นถุงหูรูด(ลักษณะคล้ายถุงยังชีพ) น้ำหนักไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสามารถในการบรรทุกของเครื่องบิน
- การปลดทิ้งสัมภาระผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้วิทยุแบบ 2 ช่องสัญญาณปล่อยทิ้งสัมภาระ หรือสามารถใช้ Servo ปลดทิ้งสัมภาระจากวิทยุในตัวเดียวกันของนักบินได้
- ในกรณีที่ผู้ช่วยนักบิน เป็นผู้กดปลดสัมภาระ ตำแหน่งที่ยืนจะต้องอยู่ข้างนักบินในขณะกดปลด สัมภาระ (ไม่ให้ลงไปยืนในสนาม)
- ผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมเครื่องบินมาเอง อนุญาตให้เตรียมมาได้มากกว่า 1 ลำ โดยต้องผ่านการตรวจสอบจากกรรมการก่อนทำการแข่งขัน
- เวลาในการแข่งขัน 2 นาที ถ้าเครื่องบินตกและยังไม่หมดเวลาสามารถนำเครื่องบิน บินต่อได้จนหมดเวลา
- ต้องปล่อยและยืนบินตามตำแหน่งที่กรรมการกำหนด และบินตามแบบที่กรรมการกำหนด
- เริ่มจากจุด start ผู้เข้าแข่งขัน take off เครื่องบินจากพื้น แล้วบินวนอ้อมทั้งสามหลักให้ครบ 1 รอบ (บินวนครั้งแรกรอบเดียว )
- หลังจากนั้นบินซิกแซกอ้อมหลักทั้งสามหลักให้ครบถ้วนแล้วบินอ้อมหลักบนซ้ายสุดหลังจากนั้นให้บินผ่านช่องที่กรรมการกำหนดมาที่เป้าคะแนนเพื่อกดปลดสัมภาระลงเป้าคะแนน นับคะแนนจากสัมภาระที่ทิ้งได้
- กรณีทิ้งสัมภาระแล้วเครื่องบินตกอยู่ในกรอบเป้าคะแนน ถือว่าปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จไม่ได้คะแนน
- กรณีทิ้งสัมภาระไม่ลงเป้าคะแนน ให้วัดระยะจากจุดกึ่งกลางเป้าคะแนนไปยังจุดที่สัมภาระตกอยู่ โดยคิดจาก ระยะทางที่ใกล้จุดกึ่งกลางเป้ามากที่สุด
- ในกรณีที่เครื่องบินบินผ่านช่องที่กำหนดแล้วยังไม่สามารถกดปลดสัมภาระได้ นักบินต้องนำเครื่องบินไปวนผ่านช่องที่กรรมการกำหนดก่อนจึงจะทิ้งสัมภาระได้
- เครื่องบินตกเสียหายไม่สามารถทำการบินได้ต่อไป ให้ยุติการแข่งขัน
- ทีมที่ทิ้งสัมภาระลงแผ่นเป้าคะแนนได้คะแนนสูงสุด ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นทีมที่ชนะเลิศ
- การตัดสินกรณีคะแนนเท่ากัน ทีมที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ
- การตัดสินกรณีที่ไม่มีคะแนน ใช้วัดระยะ ทีมที่วัดระยะได้ใกล้ที่สุดเป็นผู้ชนะ
- เมื่อบินครบ 2 นาทีแล้วให้ผู้แข่งขันนำเครื่องบินมาลงจอดที่จุด start ที่เดิม

หมายเหตุ **กติกาการแข่งขันหากมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการจะแจ้งให้ทราบในวันแข่งขัน**

ดาวนโหลดใบสมัคร